มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร

ความจริงในสรรพสิ่ง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุ ตามปัจจัย เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ เมื่อตัณหาได้เข้าอาศัยในสิ่งใดแล้ว สิ่งนั้นย่อมยึดติดว่า ยั้งยืน เป็นสุข ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด เมื่อเห็นผิดแล้วตัณหาก็เจริญเติบโตด้วยอาศัยความเห็นผิดนั้น เมื่อความจริงปรากฎว่า เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ตัณหาจึงไม่ยอม จึงทำให้ผู้ตกอยู่ภายใต้ตัณหา ต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อสนองตัณหา  ผู้ที่ได้สดับรับฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พระองค์ทรงสอนให้จำกัดตัณหา ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น ด้วย มรรค 8 มีสัมมาทิฎฐิ เป็นต้น ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์ ไม่ยั้งยืน เป็นต้น ทำให้ตัณหาสงบลง และปฏิบัติตนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงสอน เพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งได้ละกิเลส ละตัณหาได้เด็ดขาด จึงพบกับความสุขที่แท้จริง

ถ้าจะเปรียบเทียบกับ สังคมปัจจุบัน ผู้ที่มีเจ้านายคอยสั่งงานให้ทำอยู่เสมอๆ ผู้ที่่คอยรับใช้เขาก็ยินดีรับใช้จนเกิดความเคยชิน ถ้าวันไหนที่เจ้านายไม่สั่งงานให้ทำ เขาจะรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเขาต้องทำให้เจ้านายพึงพอใจ  ให้เจ้านายสมปราถนา ด้วยการทำตามที่เจ้านายสั่งทุกประการ เมื่อเขาไม่ได้รับคำสั่ง เสมือนหนึ่งว่าเจ้านายคงไม่พอใจ หรือว่าเราทำอะไรผิด เป็นเหตุให้เขาไม่สั่งงาน เกิดความวิตกขึ้น เพราะถ้าเจ้านายพึงพอใจ ตัวเราเองก็ได้รับประโยชน์จากเจ้านายด้วย ถ้าเขาไม่พอใจ เราก็จะเสียประโยชน์ จึงเกิดความวิตกขึ้นมาเพราะกลัวเสียประโยชน์นั่นเอง

 การติดสุข ติดสมาธิ ติดฌาน ครอบคลุมถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในองค์ฌานต่างๆหรือผลของสมาธิ อย่างแนบแน่นด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง เมื่อเกิดการติดใจอยาก จึงยึดติด ยึดมั่น แอบเสพสุข เสพสบาย เสพความสงบในผลอันเกิดแต่อำนาจของสมาธิหรือฌานเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ การจดจ้องจดจ่ออยู่ที่ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน ที่เกิดแต่กายบ้าง หรือจับอยู่ที่ความสงบ หรือความสุข ความสบายอันเกิดแก่ใจบ้าง อันบังเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานต่างๆหรือความสงบในสมาธิ จนเกิดการเสพติดในรสอร่อยของความสุข ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน หรือความสงบต่างๆเหล่านั้น จึงไปติดในสุขบ้าง ปีติบ้าง อุเบกขาหรือความสงบบ้าง หรือเอกัคคตาแต่เป็นแบบแช่นิ่งๆอยู่ภายในบ้าง อันล้วนเป็นผลที่บังเกิดขึ้นแก่กายและจิตที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิหรือฌาน แต่เป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌานแบบผิดๆ สาเหตุใหญ่มักเป็นเพราะความไม่รู้ในคุณ,โทษอย่างแจ่มแจ้ง(อวิชชา) ดังนั้นเมื่อปฏิบัติฌานหรือสมาธิแล้ว เมื่อถอนจากความสงบสบายออกมาแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาหรือใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอย่างจริงจังให้แจ่มแจ้งเลย จึงทำให้ได้รับทุกข์จากกรณีที่ฌาณเสื่อม

ตัณหา

ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อันเนื่องสัตว์โลกได้ถูกตัณหาควบคุมมาตั้งแต่ต้นกำเนิด จึงได้พูด คิด ทำ เพื่อสนองตัณหา ทำให้ตัณหาได้เจริญเติบโต สร้างทุกข์ให้กับสัตว์โลก โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ตัณหา ควบคุมสัตว์โลกอย่างไร

ธรรมชาติ ผู้ที่ควบคุมจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ผู้ควบคุมนั้น พึงพอใจ และสร้างความเคยชินให้เกิดขึ้น จนต้องผู้ปฏิบัติตามพึงพอใจกับที่สนองผู้ควบคุมได้อย่างสิ้นเชิง 

 ควบคุมได้โดยอาศัยความเห็นผิดในสิ่งต่างๆ ที่เราได้สัมผัส จึงทำให้เรานั้นไม่ลังเลที่จะทำ เพื่อให้ตัณหานั้นได้สมปรารถนา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีปัญญาเลิศ สามารถเข้าใจสรรพสิ่งที่เป็นตามความจริงได้ และทราบถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้ จึงสามารถพ้นทุกข์จากการเวียน ว่าย ตาย เกิด ซึ่งเป็นที่อาศัยของตัณหา จึงพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

สัตว์โลกผู้ยังข้องอยู่กับตัณหา ไม่สามารถเข้าใจสรรพสิ่งตามความจริงได้ จึงสนองตัณหาได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัณหาเจริญเติบโต และสร้างทุกข์ให้เกิดอยู่ร่ำไป